เมนู

เอเฬยยะ จึงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร และกระทำความเคารพ อย่างยิ่ง
เห็นปานนี้ คือ อภิวาท ลุกรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรม ในสมณ-
รามบุตร ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อที่พระ-
โคดมผู้เจริญตรัสนั้นชอบแล้ว ...ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์
ทั้งหลายขอทูลลาไป ข้าพระองค์ทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด.
ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.
จบวัสสการสูตรที่ 7

อรรถกถาวัสสการสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวัสสการสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โตเทยฺยสฺส คือพราหมณ์ชาวตุทิคาม. บทว่า ปริสติ
ได้แก่ ในบริษัทผู้ประชุมพร้อมกันแล้ว. บทว่า ปรูปารมฺภํ วตฺเตนฺติ
ความว่า ประพฤติแล้วติเตียนผู้อื่น. บทว่า พาโล อยํ ราชา เป็นอาทิ
ท่านกล่าวเพื่อแสดงคำติเตียน ซึ่งชนเหล่านั้นประพฤติกัน. บทว่า สมเณ
รามปุตฺเต
ได้แก่ อุททกดาบสรามบุตร. บทว่า อภิปฺปสนฺโน ได้แก่
เลื่อมใสเหลือเกิน. บทว่า ปรมนิปจฺจการํ ได้แก่ กิริยาที่อ่อนน้อมอย่าง
ยิ่งยวด คือประพฤติถ่อมตน. บทว่า ปริหารกา ได้แก่ บริวาร. บท
เป็นต้น ว่า ยมโก เป็นชื่อของบริวารชนเหล่านั้น จริงอยู่ บรรดาบริวารชน
เหล่านั้น คนหนึ่งชื่อยมกะ คนหนึ่งชื่อโมคคัลละ คนหนึ่งชื่ออุคคะ คนหนึ่ง